การลงทุนในตลาดจีน
การลงทุนในกว่างซี
เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ด้วยความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีของจีน ศูนย์ Bonded Logistics หนานหนิงที่ดูแลโดยสำนักงานเขตเทคโนโลยีขั้นสูงหนานหนิงได้รับการอนุมัติให้มีการแปรและอัปเกรดอย่างเป็นทางการให้เป็น เขต Comprehensive Bonded Zone หนานหนิง โดยมีเนื้อที่ตามแผนทั้งหมด 2.37 ตารางกิโลเมตร ซึ่งแบ่งออกเป็นสองเขต และเชื่อมต่อกันด้วยสะพานเหนือศีรษะแบบปิด เป้าหมายส่วนใหญ่คือพัฒนากิจการเดี่ยวกับ Bonded Processing, Bonded Logistics, Bonded Service และธุรกิจอื่นๆ เขต Comprehensive Bonded Zone หนานหนิงใช้โมเดลการจัดการแบบปิด และหลังจากผ่านการตรวจสอบและได้รับการยอมรับแล้ว เขตฯจะมีสิทธิดำเนินกิจการตามนโยบายที่เกี่ยวข้องกับภาษีและเงินตราต่างประเทศของ เขต Comprehensive Bonded Zone ในปัจจุบัน เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ศูนย์ Bonded Logistics หนานหนิงได้ผ่านการตรวจสองและได้รับการยอมรับจากทีมการตรวจรับร่วมแห่งชาติอย่างเป็นทางการ และสามารถดำเนินกิจการศุลกากรแบบปิด อย่างไรก็ตาม การมีฟังก์ชัน Bonded Logistics เพียงอย่างเดียวในก่อนหน้านี้ ยากที่จะตอบสนองความต้องการในการพัฒนา ดังนั้น การอัปเกรดที่ได้ประสบความสำเร็จครั้งนี้ไม่เพียงแต่จะรักษาสถานะของเขตComprehensive Bonded Zone หนานหนิงที่เป็น "ท่าเรือแห้ง" ที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีนให้มีความมั่งคงยิ่งขึ้นเท่านั้น แต่หากยังช่วยเศรษฐกิจของนครหนานหนิงขยายตัวไปสู่ภายนอกได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย
โทร: 0771-4898296
เว็บไซต์: http://gxq.nanning.gov.cn/bmwz/nnzbqztlm/
แหล่งที่มาของข้อมูล: คณะกรรมการบริหาร เขต Comprehensive Bonded Zone หนานหนิง
หากมีการละเมิดกฎโปรดแจ้งลบ
นิคมอุตสาหกรรมจีน-มาเลเซียของเมืองชินโจวเป็นนิคมนานาชาติแห่งที่สามที่รัฐบาลจีนและรัฐบาลต่างประเทศร่วมกันสร้างขึ้น ด้วยการสนับสนุนของรัฐบาลจีนและรัฐบาลมาเลเซีย นิคมอุตสาหกรรมจีน-มาเลเซียของเมืองชินโจวและนิคมอุตสาหกรรมมาเลเซีย-จีนของเมืองกวนตัน(Kuantan)ได้ร่วมกันเปิดรูปแบบใหม่ของความร่วมมือระหว่างประเทศที่เป็น "สองประเทศ สองนิคม" กลายเป็นการสำรวจและการทดลองขั้นสูงและการปฏิบัติเชิงบวกในการให้บริการ "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" และได้ส่งเสริมความร่วมมือด้านขีดความสามารถในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมระหว่างประเทศด้วยความใช้นิคมอุสาหกรรมเป็นตัวพาหะ ซึ่งได้ปรับปรุงเนื้อหาของเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนฉบับใหม่ ด้วยประโยคที่ว่า “การทำให้นิคมอุตสาหกรรมชินโจวและกวนตันเป็นโครงการนำร่องสำหรับความร่วมมือด้านการลงทุนระหว่างจีนและมาเลเซีย และเป็นเขตสาธิตสำหรับความร่วมมือจีน-อาเซียน” ที่เสนอโดยประธานาธิบดีสี จิ้นผิง และนิคมอุตสาหกรรมชินโจวได้นำมาเป็นยุทธศาสตร์ของตน รวมไปถึงการสนับสนุนการสร้างจุดประสงค์หลักในการสร้างฐานหัวสะพานและช่องทางการค้าระหว่างประเทศทางบก-ทางทะเลแห่งใหม่ การสร้างเขตนำร่องความร่วมมือแบบเปิดกว้างและแบบทดลองใหม่ระหว่างจีนกับอาเซียน และการสร้างจุดค้ำจุน(Fulcrum)เพื่อรองรับการพัฒนาแบบบูรณาการของอ่าวเป่ยปู้ในกว่างซี นอกจากนี้ นิคมอุตสาหกรรมยังได้ทำตามข้อกำหนดของเขตปกครองตนเองฯที่เป็น "การสร้างนิคมนำร่องเพื่อการปฏิรูปและนวัตกรรมในเขตปกครองตนเองฯ" ยึดมั่นใน "เริ่มจากศูนย์ เริ่มจากที่สูง และเร่งพัฒนา" โดยทำงานร่วมกับฝ่ายมาเลเซียอย่างร่วมแรงร่วมใจกัน มุ่งเน้นที่การดึงดูดการลงทุนและการก่อสร้างโครงการ ร่วมกันส่งเสริมการปฏิรูปและด้านนวัตกรรม ส่งเสริมการสร้างพรรคฯและการจัดการทางสังคม ความร่วมมือของ "สองประเทศ สองนิคม"และภาระกิจอื่น ๆ ต่างก็ถือว่ามีความคืบหน้า หลังจากทำงานอย่างหนักเป็นเวลาหลายปี โดยนิคมอุสาหกรรมมีเนื้อที่เริ่มต้น 7.87 ตารางกิโลเมตร ได้สร้าง "เจ็ดระบบพร้อม ที่ดินราบ และพื้นที่เป็นสีเขียว"(ในที่นี้ เจ็ดระบบพร้อมหมายถึงโครงสร้างพื้นฐานเจ็ดระบบได้มีความพร้อมแล้วเช่น ระบบน้ำ แก๊ซ ไฟฟ้า ระบบน้ำประปา การระบายน้ำเสีย ระบบโทรคมนาคม การส่งความร้อน ที่ดินราบหมายถึงการปรับระดับที่ดินให้เป็นที่ราบ และพื้นที่เป็นสีเขียวหมายถึงการปลูกต้นไม้ร่วงหน้า) นิคมอุตสาหกรรมและโครงการในเมืองสามารถ "เข้าได้ทันที" ซึ่งได้บรรลุเป้าหมาย "การวางรากฐานภายในสามปี" ในปี 2558 และนำไปสู่ขั้นตอนใหม่คือ "การสำฤทธิ์ผลภายใน 5 ปี" ในปี 2559
การวางผังแผนโครงการอุตสาหกรรมในเขตพื้นที่เริ่มต้น(ระยะเริ่มต้น)ใกล้เสร็จสมบูรณ์ นิคมอุตสาหกรรมชินโจวได้ให้บริการเชิงรุกในด้านความร่วมมือจีน-มาเลเซียอย่างกระตือรือร้น เพื่อผลักดันความร่วมมือด้านขีดความสามารถในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมระหว่างประเทศมา โดยจะเน้นการส่งเสริมให้โครงการอุตสหกรรมต่างๆ เช่นไบโอเมดิซีน อุตสหกรรม อิเล็กทรอนิกส์และ IT การผลิตอุปกรณ์อุตสหกรรม พลังงานรูปแบบใหม่ วัสดุชนิดใหม่ และอุตสาหกรรมดั้งเดิมที่ได้เปรียบของอาเซียนปักหลักอยู่ในนิคมฯ ขณะนี้ ในนิคมฯ มีบริษัทที่จดทะเบียนแล้วมากกว่า 380 แห่ง โครงการไฮเทคขนาดใหญ่และมีอนาคตกว่า 10 โครงการ เช่น Xindeli Photoelectric (เฟสแรก), Kelly Digital (เฟสแรก), Huibaoyuan Biomedicine, Keyi New Energy (เฟสแรก), Zhongdong Technology, Tianhao Biology, Younizao 3D Printing เป็นต้น ได้เริ่มทยอยผลิตสินค้าแล้ว ส่วนโครงการสำคัญขนาดใหญ่หลายโครงการได้ประสบความสำเร็จในการวางผัง เช่น โครงการสายการผลิตพื้นผิวกระจกบางเฉียบรุ่น 7.5 (ultra thin Front Glass Substrate)ของบริษัท Guangxi Taijia ด้วยเงินลงทุนรวม 1 หมื่นล้านหยวน โครงการห่วงโซ่ความเย็น(Cold Chain Logistics)ระหว่างประเทศและฐานอุตสาหกรรมฮาลาลของบริษัท Zhongnongpi ด้วยเงินลงทุนรวม 7 พันล้านหยวน โครงการนิคมอุตสาหกรรมเสฉวน-กว่างซี ด้วยเงินลงทุนรวมกว่า 2 พันล้านหยวน และโครงการอุตสาหกรรมเกิดใหม่เชิงยุทธศาสตร์กลุ่มหนึ่งได้ปักหลักอยู่ในนิคมฯและกำลังวางแผนที่จะเริ่มต้นก่อสร้าง ในด้านอุตสาหกรรมดั้งเดิมที่ได้เปรียบ เช่น บริษัท Gangqing Oil ประสบความสำเร็จในการผลิตตามปกติ บริษัทอุตสาหกรรมการแปรรูปรังนก 10 แห่งได้เสร็จสิ้นการตกแต่งและปรับปรุง และยังมีบริษัทแปรรูปรังนกอีก 12 แห่งกำลังรอคิวเข้านิคมฯเพื่อปักหลักอยู่ในนิคมฯ และได้ตกลงกับกระทรวงการพัฒนาวิสาหกิจของประเทศมาเลเซียในการร่วมกันสร้างนิคมอุตสาหกรรมฮาลาล
โครงการสนับสนุนและสิ่งอำนวยความสะดวกในนิคมฯได้มีการสร้างขึ้นอย่างรอบด้าน ด้วยการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โครงการต่างๆ เช่น โครงการนิคมอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และIT โครงการนิคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนานาชาติจีน-มาเลเซีย โครงการนิคมอุตสาหกรรม Smart IoT โครงการฐานการผลิตและการค้ารังนก โครงการห้องปฏิบัติการรังนกระดับชาติ และอพาร์ตเมนต์เยาวชน ต่างก็ได้ทเริ่มทยอยประยุกต์ใช้แล้ว โครงการต่างๆ ที่ให้บริการเชิงสนับสนุนนิคมฯ เช่น สตูดิโอการสอนนวัตกรรมบนอินเทอร์เน็ต ชุมชนการตั้งถิ่นฐานใหม่ Hongshulin(Resettlement community, หมายถึงชุมชนที่สร้างขึ้นเพื่อการตั้งถิ่นฐานใหม่สำหรับคนที่ต้องย้ายออกไปเมื่อรัฐบาลดำเนินการก่อสร้างถนนในเมือง หรือโครงการก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก) ชุมชนแบบคอมเพล็กซ์ (Urban Complex) ที่รวมธุรกิจ สำนักงาน ที่พักอาศัย และบริการสาธารณะมาอยู่ด้วยกัน โรงเรียนประถมและโรงเรียนมัธยมและอพาร์ตเมนต์สำหรับผู้เชี่ยวชาญได้เสร็จสิ้นโดยภาพรวม ในช่วง 2 ปีข้างหน้า ยังมีโครงการสนับสนุนอุตสาหกรรมและเมืองอีก 29 โครงการจะแล้วเสร็จหรือสามารถเริ่มการก่อสร้างได้ และหลังจากนั้นอีกประมาณ 2 ปีต่อไป เมืองอุตสาหกรรมใหม่ระหว่างประเทศที่ทันสมัยจะเติบโตขึ้นในพื้นที่ริมฝั่งอ่าวเป่ยปู้
โมเดลการพัฒนาและการก่อสร้างของนิคมฯเริ่มเป็นรูปเป็นร่างแล้ว นิคมฯได้เร่งพัฒนาโมเดลการพัฒนาที่เน้นการทุน ซึ่งได้ใช้กลยุทธ์ที่ทันสมัยอย่างแข็งขัน กล่าวคือ ตั้งกองทุนเพื่อการลงทุนขึ้นมาทดแทนเงินงบประมาณการลงทุน เช่น จัดตั้งกองทุนสำหรับการลงทุนในอุตสาหกรรมโดยตรง กองทุนสำหรับการลงทุนในตราสารทุน(Equity Instruments) กองทุนสำหรับการก่อสร้างเมือง ฯลฯ เพื่อขยายผล Financial Leverage Effect มุ่งเน้นไปที่การสร้างแพลตฟอร์มการพัฒนาอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี (TFM) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง Asset-light และอุตสาหกรรมบริการที่ทันสมัย นอกจากนี้ นิคมฯยังยึดมั่นในการวางแผนและปรับปรุงใหม่เพื่อให้เป็นนิคมนานาชาติและนิคมนวัตกรรมสมัยใหม่ เร่งปรับปรุงระบบการวางแผนของนิคมฯให้มีความสมบูรณ์ จึงมีการร่วมมือกับสถาบันการวางแผนและออกแบบของนิคมอุตสาหกรรมซูโจวเพื่อเสริมสร้างการจัดการการวางแผนนิคมฯ และดำเนินโครงการนำร่องการปฏิรูปการออกแบบทางด้านการรับเหมาก่อสร้างวิศวกรรมอย่างครอบคลุม(Engineering Procurement Construction) เพื่อผลักดันการพัฒนาตลาดการก่อสร้างให้เป็นไปตามมาตรฐาน นองจากนี้ ยังได้ศึกษารูปแบบการจัดการของสถาบันตามกฎหมาย( statutory body )อย่างจริงจัง เพื่อส่งเสริมรูปแบบ "กิจการนิคมจัดโดยนิคม" และผลักดันการปฏิรูประบบการจัดการบุคลากรแบบ KPI ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น และเร่งการสร้างโครงการดึงดูดบุคคลที่มีความสามารถเข้ามา นอกจากนี้ นิคมฯยังได้จัดตั้งระบบการจัดการสินทรัพย์ของรัฐในนิคมฯและจะปรับปรุงให้มีความสมบูรณ์ เพื่อส่งเสริมนวัตกรรมรูปแบบการแสวงหาผลกำไรของบริษัทที่ร่วมทุนโดยจีนและมาเลเซีย ศึกษารูปแบบใหม่ของการย้ายถิ่นฐานและการตั้งถิ่นฐานใหม่ของประชาชนด้วยแนวคิดของการสร้างร่วมกันและการแบ่งปันกัน พัฒนากลไกความร่วมมือแบบ "สองประเทศและสองนิคมฯ" เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านขีดความสามารถในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ และกำหนดแผนการทำงานที่เป็นทีมมากยิ่งขึ้นสำหรับ"สองนิคม"นี้ สร้างความแข็งแกร่งของพรรคฯและปรับปรุงงานของพรรคฯและงานมวลชน(the work of mass organizations)ให้ดียิ่งขึ้น เพื่อสร้างบรรยากาศการพัฒนาและการสร้างสรรค์ที่ดีและเป็นบวกต่อนิคมฯ หลังจากทำงานอย่างหนักเป็นเวลาหลายปี ปัจจุบัน นิคมฯได้เข้าสู่ระยะเก็บเกี่ยวช่วงต้น และจะมุ่งมั่นที่จะสร้างนิคมฯให้เป็นโครงการนำร่องสำหรับความร่วมมือด้านการลงทุนระหว่างจีนและมาเลเซีย และเป็นเขตสาธิตสำหรับความร่วมมือจีน-อาเซียน
โทร: 0771-5880001
เว็บไซต์: http://zmqzcyyq.gxzf.gov.cn/
แหล่งที่มาของข้อมูล: เว็บไซต์ทางการของคณะกรรมการบริหารนิคมอุตสาหกรรมจีน-มาเลเซีย ชินโจว
หากมีการละเมิดกฎโปรดแจ้งลบ
เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีกว่างซี-อาเซียนตั้งอยู่ห่างจากเมืองหนานหนิงไปทางเหนือประมาณ 30 กิโลเมตร ถัดจากภูเขาต้าหมิงที่มีชื่อเสียงในกว่างซี มีพื้นที่ 180 ตารางกิโลเมตร ล้อมรอบด้วยภูเขาและแม่น้ำ อุดมไปด้วยทรัพยากร และอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท โดยมีลักษณะเด่นตามแบบฉบับของชาวจีนโพ้นทะเล อีกทั้งยังเป็น 1 ใน 3 ของเขตพัฒนาระดับชาติที่สำคัญในหนานหนิง เป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญของงาน China-ASEAN Expo มีนิคมอุตสาหกรรมที่สำคัญในด้านเศรษฐกิจอ่าวเป่ยปู้มณฑลกว่างซี เขตสาธิตนำร่องการปรับปรุงแบบหมุนเวียนระดับประเทศ นอกจากนี้ ยังเป็นหนึ่งในภาคการเกษตรของชาวจีนโพ้นทะเลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน และหน่วยประสานงานหลักของสำนักงานกิจการชาวจีนโพ้นทะเลของคณะมนตรีรัฐกิจ เป็นเมืองอุตสาหกรรมใหม่แบบมีภูเขา สระน้ำ ป่าไม้ และสวนผักผ่อน ที่กำลังเติบโตในตอนเหนือหนานหนิง
เขตอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ มีเนื้อที่ตามที่กำหนดไว้ 27 ตารางกิโลเมตร โดยอาศัยข้อได้เปรียบของเขตพัฒนา เช่น ทรัพยากรธรรมชาติทางนิเวศวิทยาและอาหาร ไบโอเมดิซีน และอุตสาหกรรมอื่น ๆ มุ่งเน้นไปที่การพัฒนารูปแบบธุรกิจที่เกิดขึ้นใหม่ ได้แก่ ด้านสุขภาพองค์รวม การดูแลผู้สูงอายุ การท่องเที่ยวเพื่อการพักผ่อน ฯลฯ และส่งเสริมอย่างจริงจังในการสร้างกลุ่มอุตสาหกรรมบริการที่ทันสมัยในเขตปกครองตนเองกว่างซีจว้าง ผลักดันสู่การสร้างโครงการ “เมืองไท่เหอ·จี่ไจ้”——โครงการอุตสาหกรรมบริการการท่องเที่ยวและการดูแลผู้สูงอายุอย่างครอบคลุม ด้วยเงินลงทุน 1.07 หมื่นล้านหยวน ที่มีอุสาหกรรมการท่องเที่ยว เกษตรและการป่าไม้เชิงนิเวศ วัฒนธรรม การดูแลสุขภาพ การดูแลผู้สูงอายุ รวมไปถึงการรักษาพยาบาล ปัจจุบันได้รับการระบุว่าเป็น "เมืองแห่งการดูแลสุขภาพและการดูแลผู้สูงอายุ" ซึ่งเป็นโครงการรุ่นแรกของกว่างซี และระยะแรกของโครงการนี้ได้เปิดสู่สาธารณชนอย่างเป็นทางการแล้ว
เขตการศึกษาหนานหนิง (ฝั่งตะวันตก) มีเนื้อที่ 19 ตารางกิโลเมตร ได้รวมมหาวิทยาลัยต่างๆ อาทิ มหาวิทยาลัยชนชาติกว่างซี(Guangxi Minzu University) มหาวิทยาลัยชนชาติกว่างซีวิทยาเขตเซียงซือหู(Xiangsihu College of Guangxi Minzu University) วิทยาลัยบริหารศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีกุ้ยหลิน วิทยาลัยเทคโนโลยีการอาชีพการค้าระหว่างประเทศกว่างซี(Guangxi International Business Vocational College) วิทยาลัยครูอนุบาลกว่างซี(Guangxi College for Preschool Education) วิทยาลัยต่างๆ ตลอดจนถึงระดับอุดมศึกษา จำนวน 11 แห่ง ภายในเขตการศึกษามีศูนย์ฝึกทักษะวิชาชีพของเขตปกครองตนเองกว่างซีจว้างด้วยเงินลงทุนรวม 1 พันล้านหยวน ที่มุ่งมั่นในการสร้างเครือข่ายบริการสาธารณะระดับนานาชาติที่รวมการฝึกทักษะวิชาชีพ การประเมิน การแข่งขัน การแลกเปลี่ยน และความร่วมมือระหว่างภาคอุตสาหกรรมกับมหาวิทยาลัยวิจัย ปัจจุบันได้มีองค์กรการศึกษาต่างๆเปิดสาขาอยู่ในเขตนี้แล้ว เช่นวิทยาลัยการชลประทานและการไฟฟ้า วิทยาลัยการอาชีพธุรกิจและการค้า โรงเรียนเทคนิคการสื่อสารมวลชน ฯลฯ มากกว่า 30 แห่ง เราจึงพยายามสร้างพื้นที่เพื่อรวมทรัพยากรทางการศึกษาแห่งนี้ขึ้นมา ในขณะเดียวกัน เราได้ร่วมมือกับ Greenland Group ซึ่งเป็นบริษัทที่ติดอันดับ Fortune 500 ในการดำเนินความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์และสร้างโครงการ โดยใช้ชื่อว่า "Nanning North" โดยมุ่งเน้นการยกระดับภาคอุตสาหกรรม การบูรณาการระบบโครงสร้างพื้นฐานของเขตการศึกษา การเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับอุตสาหกรรมในเขตอุตสาหกรรม และส่งเสริมการรวมตัวของอุตสาหกรรมและเมือง นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่สาธิตการเกษตรสมัยใหม่ ที่มีเนื้อที่ตามที่กำหนดไว้ 88 ตารางกิโลเมตร อาศัยข้อได้เปรียบในแหล่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรของ "สองสถาบันกับสามสถานี" ประกอบด้วย สถาบันวิทยาศาสตร์เกษตรกว่างซี(Guangxi Academy of Agricultural Sciences) สถาบันวิจัยเทคโนโลยีการประมงกว่างซี(Guangxi Fishery Science Research Institute) สถานีเทคโนโลยีการเกษตรกว่างซี(Guangxi Agricultural Technology General Station) สถานีเพาะเลี้ยงไหมกว่างซี(Guangxi Sericulture General Station) สถานีพืชผักกว่างซี(Guangxi Fruit General Station) ปัจจุบันเขตพัฒนาเศรษฐกิจกว่างซี-อาเซียนได้สร้าง 5 เขตสาธิตการพัฒนาการเกษตรพิเศษที่ทันสมัยแล้ว และจะสร้างเขตพื้นที่นวัตกรรมเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ในอนาคต ที่อยู่ในกว่างซีเป็นหลักและมุ่งสู่อาเซียน สร้างเขตพื้นที่สำหรับผู้มีความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร และสร้างเขตพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตรสมัยใหม่
โทร: 0771-6336825
เว็บไซต์: http://gxdmjkq.nanning.gov.cn/
แหล่งที่มาของข้อมูล: เว็บไซต์ทางการของคณะกรรมการบริหารเขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีกว่างซี-อาเซียน
หากมีการละเมิดกฎโปรดแจ้งลบ